เรื่องของ มด

มด (Ants)

มดเป็นแมลงชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ทั่วไปตั้งแต่เขตร้อน (tropics) จนถึงบริเวณใกล้เขตขั้วโลก (subarctic) สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไป ในพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณที่อยู่อาศัย จนมีคำกล่าวว่า มดครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นดิน ประมาณว่าทั่วโลกพบมดจำแนกชนิดแล้ว 15,000 ชนิด ส่วนในประเทศไทย คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานว่าพบมดแล้วทั้งหมด 9 วงศ์ย่อย 86 สกุล 512 ชนิด โดยมดจัดเป็นแมลงสังคมชนิดหนึ่งที่มีพฤติกรรมความเป็นอยู่แตกต่างจากแมลงอื่นๆ โดยทั่วไปแมลงสังคมมีอยู่ 2 อันดับคือ Hymenoptera ได้แก่ ผึ้ง ต่อ แตนและมด และอันดับ isopteran ได้แก่ ปลวก

มดเป็นแมลงสังคมที่อยู่ในวงศ์ Formicidae จัดเป็นแมลงสังคมแท่จรองที่ขนาดรังมีจำนวนประชากรมาก การสร้างรังทำอย่างประณีต มีการติดต่อสื่อสารและการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันให้เห็นชัดเจนทั้งรูปร่าง ลักษณะและหน้าที่ มดมีบทบาทต่อคนในหลายลักษณะทั้งที่เป็นแมลงทำลายศัตรูพืชผลทางการเกษตร ในแปลงปลูกและในโรงเก็บ เข้ามาก่อความรำคาญและก่อความเสียหายในบ้านเรือน โดยมีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัยกับคน มดบางชนิดสามารถกักหรือต่อยด้วยเหล็กใน ทำให้เกิดคามเจ็บปวด เกิดอาการแพ้หรือเกิดแผลการติดเชื้อซ้ำ จากสาเหตุนี้ มดจึงจัดเป็นแมลงศัตรูและมีความสำคัญทางการแพทย์ 

ลักษณะที่สำคัญ

มดมีลักษณะเหมือนกับแมงกลุ่มอื่นๆ คือสามารถแบ่งลำตัวออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง แต่ละส่วนจะมีอวัยวะหรือลักษณะที่สำคัญต่างๆ ปรากฏอยู่ ลักษณะหนวดหักแบบข้อศอก (geniculate) แบ่งออกเป็นส่วน scape และ funicle ในเพศเมียจำนวนปล้องหนวดจะมี 4 – 12 ปล้อง ส่วนเพศผู้มี 9 – 12 ปล้อง ปากเป็นแบบกัดกิน มีฟันเรียกว้า mandible ท้องปล้องที่ 1 จะรวมกับอกปล้องที่ 3 เรียกว่า propodeum ท้องปล้องที่ 2 หรือ 3 มีลักษณะเป็นก้านเรียกว่า abdomen pedicel ซึ่งอาจมีปุ่มหรือไม่มีก็ได้ ส่วนท้องปล้องที่เหลือรวมเรียกว่า gaster 1 คู่ (compound eyes) บางชนิดมีตาเดี่ยว (ocelli) โดยทั่วไปจะมี 3 ตาอยู่เหนือระหว่างตารวม ตาเดี่ยวจะไม่ได้ทำหน้าที่ในการรับภาพ 

ความสำคัญทางการแพทย์

มีมดมากมายหลายชนิดที่มีความสำพันธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ในแง่ที่เป็นโทษนั้นมดจะเข้ามามีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัย ทำให้ตองเสียเงินเป็นจำนวนมากทุกปีในการป้องกันกำจัด นอกจากนั้นยังทำอันตรายกับมนุษย์โดยการกัดหรือต่อย พร้อมทังปล่อยน้ำพิษลงไปในรอยแผลที่กัดหรือต่อยนั้นทำให้รู้สึกเจ็บปวด มดเกือบทุกชนิดใช้ปากกัดแต่บางชนิดก็ต่อยด้วยเหล็กในที่อยู่ปลายท้องและมีบางชนิดที่ทำอันตรายมนุษย์ได้ทั้งกัดและต่อยทำให้บริเวณนั้นมีอาการบวม ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นกับอาการแพ้ของแต่ละคนและตำแหน่งของร่างกายที่ถูกกัดต่อย เช่น มดคันไฟ (Solenopsis spp.) จะเริ่มทำร้ายศัตรูด้วยการกัด โดยกระตุ้นให้เหล็กในเริ่มทำงานและต่อยศัตรูด้วย เหล็กในภายหลังการกัดนั้น มดสามารถต่อยด้วยเหล็กในอันเดิมได้หลายครั้งซึ่งจะต่างจากผึ้งที่ต่อยได้เพียงครั้งเดียวและจะทิ้งเหล็กในไว้ในบริเวณที่ถูกต่อย จากการศึกษาน้ำพิษของมดคันไฟพบว่าประกอบด้วยสารสำคัญหลัก 2 ชนิด คือสารอัลคาลอยด์และโปรตีน น้ำพิษจะผลิตออกมาจากต่อมที่อยู่ภายในท้องของมดเชื่อมต่อกับเหล็กในที่เราเห็นยืนออกมาจากปลายท้องมด สารอัลลอยด์จะเป็นพิษกับเซลล์ ทำให้เซลล์นั้นเกิดการตาย จากนั้นจะมีเมล็ดขาวมาล้อม รอบเซลล์ที่ตายตามกลไกภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้บริเวณที่ถูกต่อยเกิดเป็นตุ่มหนอง และถ้าผิวหนังบริเวณนั้นแตกออกอาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำของแบคทีเรีย (Secondary infection) ทำให้เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ส่วนโปรตีนนั้นจะไม่ค่อยมีผลมากนักยกเว้นผู้ที่มีอาการแพ้ อาจทำให้มีอาการอย่างน้อยๆ จนถึงเกิดการช็อค (anaphylactic shock) ในรายแพ้มากๆ นอกจากนั้นมดยังมีความสามารถเป็นตัวพาเชื้อโรคติดมาตามขาและหนวด เมื่อมดพวกนี้ขึ้นมากินอาหารของคนจะทำให้มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในอาหาร (mechanical transmission)

การเกิดตุ่มพองจากการต่อยของมดคันไฟ  

การติดเชื้อซ้ำหลังการถูกต่อย  

  1. 1. ชีววิทยาและนิเวศวิทยา

1.1 วงจรชีวิต

มดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) ในวงจรชีวิตประกอบด้วย ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย (ดังรูปภาพ) 

เนื่องจากมดเป็นแมลงสังคม สมาชิกที่อยู่ในรังจะมีการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันให้เห็นชัดเจน ประกอบด้วย

มดแม่รังหรือมดราชินี มีขนาดใหญ่กว่ามดตัวอื่นที่อยู่ในรัง มีปีก อกหนา ท้องใหญ่ และมักมีตาเดี่ยว สามารถสืบพันธุ์ได้ ทำหน้าที่ในการสร้างรังและวางไข่ ตลอดจนควบคุมกิจกรรม ต่างๆ ภายในรัง

มดเพศผู้ โดยทั่วไปจะมีปีก ส่วนอกหนาแต่ไม่เท่าของมดแม่รัง มีหน้าที่ผสมพันธุ์ พบเป็นจำนวนน้อยกว่ามดงานในแต่ละรัง

มดงาน เป็นมดเพศเสียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก ไม่มีตาเดี่ยว เป็นมดที่ออกหาอาหารและพบอยู่เสมอภายนอกรัง นอกจากหาอาหารแล้ว มดงานยังมีหน้าที่ในการสร้างรัง รักษารัง ดูแลตัวอ่อนและราชินีและป้องกันรังด้วย มดงานบางชนิดสามารถแบ่งออกเป็น มดงานที่มีรูปร่างแบบเดียว (monomorphic form) มดงานที่มีรูปร่าง 2 รูปแบบ (dimorphic form ; major worker; minor worker) และมดงานที่มีรูปร่างหลายแบบ่ (polymorphic form) 

1.2 นิเวศวิทยา

พฤติกรรมมด

มดเป็นแหล่งที่มีวิวัฒนาการสูง มีกำเนิดมาช้านาน เมื่อศึกษาจากฟอสซิล นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามดมีกำเนิดเมื่อ 50 ล้านปีมาแล้วหมดมีมากมายหลายชนิดแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในเขตต่างๆ ยกเว้นแถบขั้วโลก มดมีพฤติกรรมที่น่าสนใจหลายๆ ด้าน ได้แก่

1.2.1  พฤติกรรมการผสมพันธุ์และสร้างรัง

เมื่อประชากรภายในรัฐมีความหนาแน่นมาก และต้องการขยายรังสมาชิกในรังที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์ จะบินออกจากรังเดิมเพื่อจับคู่กับมดจากรังอื่นโดยมดงานจะขุดรูให้เป็นทางออกของแม่รังตัวใหม่หมดที่มีวิวัฒนาการสูงจะจับคู่และผสมพันธุ์บนที่สูง เช่น บนต้นไม้ ส่วนมดที่มีวิวัฒนาการต่ำจะผสมพันธุ์บนพื้นดิน หลังจากนั้นมดแม่รังหรือมดราชินีจะหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างรังซึ่งจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของมด แล้วเริ่มต้นสร้างรังใหม่ เมื่อพบพื้นที่ที่เหมาะสมแล้วมดแม่รังจะสลัดปีกออกและวางไข่ การวางไข่ครั้งแรกจะวางเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมดร่นแรกจะเป็นมดงาน มดแม่รังจะทำหน้าที่หาอาหารมาเลี้ยงดูตัวอ่อนชุดแรกเองโดยการให้กินไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ จนมดงานรุ่นแรกนี้เจริญเติบโตเป็นมดงานที่ทำหน้าที่ออกหาอาหาร เมื่อมีมดงานตัวเต็มวัยมากขึ้น มดราชินีจะทำหน้าที่วางไข่และควบคุมพฤติกรรมภายในรังเพียงอย่างเดียวทั้งนี้ฤดูกาลและสภาพอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิและความชื้น มีอิทธิพลต่อการผสมพันธ์ และเมื่อภายในรัฐมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นมดราชินีจะมีการผลิตมดเพศผู้และเพศเสียเพื่อทำหน้าที่ผสมพันธุ์ในรุ่นต่อไป

หน้าที่ของมดภายในรัง 

1.2.2  พฤติกรรมการหาอาหาร

มดออกหาอาหารได้ทั้งกลางวันและกลางคืน กินอาหารได้หลากหลาย สามารถเป็นได้ทั้งตัวห้ำหรือเป็นพวกกินซาก กินได้ทั้งเมล็ดพืช หรือ ดูดกินอาหารที่เป็นของเหลว มดงานบางชนิดสามารถเก็บอาหารที่เป็นของเหลวไว้ในกระเพาะจนเต็ม แล้วนำกลับไปแจกจ่ายให้กับสมาขิกตัวอื่นในรังได้ โดยใช้วิธีสำรอกออกมาในเวลาไม่เกิน 20 ชั่วโมง

1.2.3  พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร

มดมีการติดต่อสื่อสารโดยปล่อยสารที่เรียกว่าฟีโรโมน (pheromone) ที่มดตัวอื่นจะรับการติดต่อได้โดยอาศัยหนวดและขาคู่หน้า ฟีโรโมนมีหลายชนิด เช่น

-          ฟีโรโมนนำทาง (trail pheromone) โดยมดจะปล่อยไว้ตามทางที่มันเดินผ่านไปเพื่อให้สมาชิกตามไปยังแหล่งอาหารได้ถูกต้องและเมื่อพบอาหารมากๆ มดจะช่วยกันปล่อยฟีโรโมนทำให้มีมดเป็นจำนวนมากครูมาที่อาหารอย่างรวดเร็ว

-          ฟีโรโมนเตือนภัย (alarm pheromone) พบว่าเมื่อปล่อยออกมาเป็นจำนวนน้อยๆ จะใช้สื่อสารด้านการเตือนภัยแต่ถ้าปล่อยออกมาในปริมาณมากๆ สามารถควบคุมพฤติกรรมบางอย่างได้ด้วย เช่น ให้เข้าโจมตีศัตรู ขดรูและพบว่าสารนี้จะไม่จำเพาะเจาะจงกับชนิดของมดเหมือน กับฟีโรโ มน นำทาง

-          ฟีโรโมนอื่นๆ มดจะปล่อยออกมาในเหตุการณ์ต่างๆ เช่น มดตัวอ่อนสามารถปล่อยฟีโรโมนกระตุ้นให้มดงานป้อนอาหารให้เมื่อมันรู้สึกหิว หรือฟีโรโมนที่แม่รังปล่อยออกมาเพื่อควบคุมกิจกรรมของประชากรภายในรัง

1.2.4  พฤติกรรมการใช้เสียง

มีรายงานว่ามดสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้เสียง เพื่อเป็นการเตือนภัยเรียกสมาชิกให้มาอยู่รวมกันเมื่อพบศัตรูหรือเรียกเพื่อนๆ มาช่วยเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น

1.3  ชนิดมดที่สำคัญ

มิได้อยู่หลายชนิดที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์และควรรู้จัก ได้แก่

1.3.1 มดคันไฟ (Solenopsis geminata)

ลักษณะสำคัญ มีสีเหลืองแดง มีขนที่หัวและตัว หน่วยมี 1 0 ปล้อง อกแคบ pronotum กลมpro-mesonotal suture เห็นชัดเจน pedicel มี 2 ปุ่ม ท้องรูปไข่มีลายขวางสีน้ำตาล มีเหล็กใน ลำตัวมีความยาว 7.8 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุยโดยดินทรายรังหนึ่งๆ มีรูทางเข้าออกเล็กๆ บนพื้นดินได้หลายรู กินแมลงและซากสัตว์เลกๆ เป็นอาหาร

ความสำคัญทางการแพทย์ ใช้เหล็กในต่อย ผู้ถูกย่อยจะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวกจึงเรียกมดคันไฟหลังจากถูกย่อยจะมีอาการบวมแดงขยายกว้างขึ้นและจดที่ถูกต้องจะใสคล้ายถูกไฟลวกและจะมีอาการคันมากเมื่อเกาผิวหนังจะบวมแดงแผ่กว้างขึ้น

1.3.2 มดละเอียด (Monomorium indicum)

ลักษณะสำคัญ มีสีแดงสนิมปนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องใส หน่วยมี 12 ปล้อง อกยาวแคบเห็น meso-metanotal suture ชัดเจน pedicel มี 2 ปุ่มรูปไข่ความยาว 2.5 - 3.5 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังในดิน พบตามบ้านที่อยู่อาศัย ชอบกินของหวานเมื่อมากินอาหารแล้วจะปล่อยสิ่งขับถ่ายทำให้อาหารมีรสชาติเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวรวดเร็ว มักเห็นเดินบนกำแพงหรือฝาห้องมากกว่าบนพื้น

ความสำคัญทางการแพทย์ เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย

1.3.3 มดละเอียด (Monomorium pharaonis)

ลักษณะสำคัญ มีสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงสว่างใส ท้องมีสีเข้มเกือบดำหนวดมี 12 ปล้องโดย 3 ปล้องสุดท้ายใหญ่เป็นรูปกระบอง ตาเล็ก อกยาวแคบเห็น meso-metanotalsuture ชัดเจน pedicel มี 2 ปุ่มรูปไข่ มีขนปกคลุมทั่วร่างกาย ความยาว 1.5 - 2 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา ชอบทำรังอยู่ใกล้แหล่งอาหาร เช่น ช่องว่างตามกำแพงบ้านรังมีขนาดต่างๆ กันตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงมีประชากรเป็นพันๆตัว และสามารถแตกเป็นรังย่อย (daughter colony) จากรังใหญ่ (mother colony) ได้ โดยจะกระจายไปตามบ้านที่อยู่อาศัย ทำให้ควบคุมได้ยาก

ความสำคัญทางการแพทย์ มีเหล็กในแต่ไม่ปรากฏให้เห็น เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย

1.3.4 มดละเอียดหรือมดเหม็น (Tapinoma melanocephalum)

ลักษณะสำคัญ หัวและอกสีดำ ท้องสีน้ำตาลอ่อน ปล้องหนวดมี scape และ funicle ยาว ตารวมอยู่ด้านหน้า ปล้อง pedecel มีปุ่ม 1 ปุ่ม ลักษณะแบน ปล้องท้องส่วน gaster ยื่นไปคลุมบน pedicel

ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังบนดินร่วนบริเวณโคนต้นไม้ เช่น ต้นไผ่ ชอบซ่อนตัวตามกาบใบที่มีความชื้นสูง

ความสำคัญทางการแพทย์ เมื่อเข้ามาหาอาหารในบ้านเรือนจะขับถ่ายมูล ทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารและมีกลิ่นเหม็น ทำอันตรายคนโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บคันเพียงเล็กน้อย

1.3.5 มดดำ (Paratrechina longicornis)

ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเข้มบางส่วนสีดำขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมอยู่ทั่วไป หนวดมี 12 ปล้องลักษณะยาวเห็นได้ชัด อกแต่ละปล้องมีเส้นแบ่งชัดเจน ขายาวมาก pedicel มี 1 ปุ่ม เป็นรูปไข่นั้นเล็กน้อย ท้องรูปไข่ความยาว 2.3 - 3 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา พบเห็นทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัยและภายนอกบ้าน มดงานออกหากินไกลออกไปจากรัง ดังนั้นจึงยากที่จะควบคุมมดชนิดนี้ทั้งรัง เป็นมดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมากโดยไม่ติดตามฟีโรโมนของมดตัวอื่นๆ พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ทำรังตามรอยแตกของต้นไม้ หรือในดินใต้วัสดุต่างๆ ชอบกินน้ำหวาน บางครั้งอาจพบเห็นมดชนิดนี้ขนย้ายไข่ มดชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายคนแม้ถูกรบกวน

ความสำคัญทางการแพทย์ เป็นมดที่ทำให้เกิดความรำคาญมากกว่าอันตราย

1.3.6 มดง่าม (pheido1ogeton diversus)

ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเข้ม กรามใหญ่ หน่วยมี 11 ปล้อง pronotum และmesonotum นูน metanotum เว้าลง มี metanotal spine, pedicel มี 2 ปุ่ม ส่วนท้องกว้างรูปไข่ความยาว 4.5 - 13 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังในดินร่วนมองผิวดินจะเห็นเป็นเพียงรูเปิดเล็กๆ และมีดินร่วนกองอยู่รอบๆ ของขอบรูเข้าออก ชอบทำรังในที่ร่มชื้น กินแมลงและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร

ความสำคัญทางการแพทย์ ทำอันตรายต่อคนโดยการกัดอาการจะคล้ายคลึงกับอาการของคนที่ถูกมดคันไฟต่อยมาก

1.3.7 มดแดง (oecophylla smaragdina)

ลักษณะสำคัญ มีสีแดงสนิม หัวและส่วนอกมีขนสั้นๆ สีขาว หน่วยมี 12 ปล้องอกยาว pronotum โค้ง mesonotum คอดคล้ายอาน metanotum กลม ขาเรียวยาว pedicel มี 1 ปุ่มท้องสั้น ความยาว 7 - 11 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังบนต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะม่วง ชมพู่ โดยใช้ใบเหล่านี้ประกอบเป็นรังโดยตัวอ่อนจะปล่อยสารเหนียวออกมาเชื่อมใบไม้ให้ประกอบกัน เมื่อพบเหยื่อจะทำร้ายเหยื่อโดยการวัดและฉีดสารพิษออกทางปลายท้อง เมื่อเหยื่อได้รับบาดเจ็บจะช่วยกันลากกลับรัง

ความสำคัญทางการแพทย์ เมื่อถูกรบกวนจะทำอันตรายคนโดยการวัดผู้ถูกกัด จะรู้สึกเจ็บปวดมาก ต่อมาจะเกิดอาการบวมคัน

1.3.8 มดตะนอย (Tetraponera rufonigra)

ลักษณะสำคัญ มีสีดำปนน้ำตาลเหลือง มีขนกระจายบางๆ ไม่เป็นระเบียบ หนวด 12 ปล้อง อกยาว pronotum กว้าง mesonotum เล็กแบน รูปไข่ metanotum รูปไข่นูน pedicel มี 2 ปุ่ม ท้องรูปไข่เล็กปลายแหลมโค้ง มีเหล็กในที่ปลาย ยาว 10.5 - 13 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังอยู่ในต้นไม้ใหญ่ที่ตายแล้ว เช่น ต้นก้ามปู ทำให้ต้นไม้เป็นโพรงอยู่ภายใน หากินบนต้นไม้และพื้นดินใกล้เคียง เป็นพวกกินเนื้อเป็นอาหาร

ความสำคัญทางการแพทย์ จะต่อยโดยใช้เหล็กใน ผู้ถูกย่อยจะปวดคล้ายถูกผึ้งต่อย เหล็กในจะทำให้เกิดความเจ็บปวดและอาการบวม ต่อมาจะคันมาก 

  1. วิธีการควบคุมมด

ถ้าให้ได้ผลดีเช่นเดียวกับการกำจัดแมลงทั่วไป คือ ต้องทราบชนิด ลักษณะ อุปนิสัย ชีวประวัติและความเป็นอยู่ เพื่อสามารถหาวิธีที่เหมาะสมในการกำจัดมดแต่ละชนิด โดยอาจใช้หลายวิธีร่วมกันก็ได้ วิธีการควบคุมโดยทั่วไป ได้แก่

1.1 การควบคุมโดยใช้สารเคมี

1.1.1 เลือกชนิดที่หาง่ายในบ้านเรือน เช่น น้ำมันหล่อลื่น น้ำส้มสายชู หยอดลงไปตามช่องที่มดเดินเข้า - ออก สามารถฆ่ามดพวกนี้ได้

1.1.2 วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ส่วนใหญ่เน้นสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ หรือวัตถุอันตรายที่มีฤทธิ์ตกค้างนาน เช่น เฟนโดน่า (fendona) โปรพอกเซอร์ (propoxur) เป็นต้น 

วัตถุอันตรายที่ใช้ในการกำจัดมด

(ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

กลุ่ม pyrethroid

กลุ่ม organophosphate

กลุ่ม carbamate

Cypermethrin

Alphacypermethrin

deltamethrin

permethrin

deltacyfluthrin

zetacypermethrin

cyfluthrin

bifenthrin

Chlorpyriphose

Diazinol

fenitrothion

pirimiphos methyl

mMalathion

DDVP

Propoxur

bendiocarb

 

1.1.3 เหยื่อพิษ การวางเหยื่อพิษจะได้ผลดีควรเลือกเหยื่อพิษที่เหมาะต่อมดชนิดนั้นๆ วางในจุดที่เหมาะสมและไม่มีอาหารอย่างอื่นให้มดเลือก

1.2 การควบคุมโดยการปรับสภาพแวดล้อม

ไม่ให้มีแหล่งอาหารอยู่ในบ้านเรือนหรือบริเวณรอบบ้าน หมั่นสอดส่องดูแลภายในบ้านเรือนไม่ให้มีที่ที่เหมาะสมสำหรับมดมาทำรัง ไม่ควรปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหวาน (Honeydew) ไว้ใกล้บ้าน

1.3 การควบคุมโดยวิธีกล

โดยการใช้มือบี้หรือทำลาย ใช้ไม้กวาดกวาดทิ้งหรือการทำลายล้างโดยวิธีต่างๆ เช่น ใช้ไฟเผา ตัดรังทั้งในกรณีที่รังอยู่บนต้นไม้ เป็นต้น

  1. การจัดการมด

การจัดการมดที่ทำให้เกิดปัญหาในที่พักอาศัยทั้งในบ้าน และบริเวณรอบบ้านรวมทั้งในอาคารสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือโกดังเก็บสินค้าประเภทอาหาร ต้องมีการวางแผนและการจัดการที่ดีเพื่อให้ได้ผลต่อเนื่องในระยะยาว โดยต้องนำวิธีการควบคุมต่างๆ ที่มาใช้ร่วมกัน (Integrated management) โดยพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละสถานที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสดในการจัดการ อย่างไรก็ตามวิธีการที่สามารถนำมาใช้ร่วมกัน มีวิธีหลักๆ ดังนี้

1.1 การประเมินสถานการณ์ของมด

การเริ่มต้นที่ดีจะนำไปสู่ผลสำเร็จที่ดีในการจัดการมด จึงควรเริ่มต้นด้วยการสำรวจพื้นที่นั้นๆก่อนที่จะดำเนินการควบคุม ให้ตรวจสอบดูความหนาแน่นของประชากร และการแพร่กระจายของมดโดยดูจากร่องรอยทางเดินที่มดงานใช้เป็นประจำเพื่อหาอาหารกลับไปเลี้ยงแม่รัง และตัวอ่อนสำรวจดูรอยแตกตามฝาผนังหรือฝ้าเพดานที่มดมักใช้เป็นที่อยู่ขออาศัยของรังย่อย (subcolony) เนื่องจากมดบางชนิด เช่น มดละเอียด สามารถมีรังย่อยได้หลายรัฐที่แยกจากรังหลัก (main colony) เมื่อประชากรในรังหลักเริ่มมีความหนาแน่น มีอาหารและน้ำพอเพียงและมีสถานที่ที่เหมาะสม ควรทำการสำรวจทั้งในและบริเวณรอบบ้านเนื่องจากมดละเอียดที่เป็นปัญหาสำคัญนั้นจะมีรังหลักอยู่ภายนอกบ้านและจะมีทางเดินที่มิใช่เพื่อเดินทางจากรังหลักเข้ามาในบ้าน นอกจากนั้นมดงานจากรังหลัก และรังย่อยยังสามารถเดินทางติดต่อระหว่างรัฐได้ หลังจากที่ได้สำรวจอย่างละเอียดแล้วควรบันทึกและทำแผนที่แสดงรายละเอียดของจดที่ได้สำรวจและจุดที่จะดำเนินการควบคุม สิ่งสำคัญในการสำรวจมด คือ การเก็บตัวอย่างมดที่พบบริเวณที่สำรวจ นำมาศึกษาว่าเป็นมดชนิดใด บางครั้ง อาจพบมดมากกว่าหนึ่งชนิดในบ้านเรือนก็ได้ จากข้อมูลที่ได้จะทำให้ทราบข้อมูลอื่นๆ ของมด เช่น ลักษณะการสร้างรัง ชนิดอาหารที่มดชอบ อุปนิสัยในการหาอาหารและวงจรชีวิต เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการควบคุมที่เหมาะสมต่อไป

1.2 การเลือกใช้วิธีต่างๆ เพื่อนำมาใช้ร่วมกันในการควบคุมมด

1.2.1 การควบคุมโดยใช้หลักการทางสุขาภิบาล

เนื่องจากมดต้องการอาหารและน้ำเพื่อดำรงชีวิต ดังนั้นการที่มดเข้ามาในที่พักอาศัยก็เพื่อเข้ามาหาอาหารและน้ำนำกลับไปเลี้ยงแม่รัง ตัวอ่อนและมดงานที่ทำงานในรังรวมทั้งเพื่อเลี้ยงตัวเอง ดังนั้นถ้ามีอาหารและน้ำอย่างพอเพียงและต่อเนื่อง3รมาณของมดที่พบเข้ามาในบ้านจะมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจเข้ามาสร้างรังย่อยในบ้านได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นการป้องกันกำจัดจะทำได้ยากขึ้นวิธีการที่สำคัญคือ ควรทำความสะอาดบ้าน ควบคุมแหล่งอาหาร เก็บอาหารไว้ในที่ที่มดไม่สามารถเข้าไปได้ ดูแลไม่ให้มีเศษอาหารตกหล่นและหมั่นเก็บขยะทิ้งให้เรียบร้อย การควบคุมโดยใช้หลักสุขาภิบาลนั้น ควรทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะสามารถลดปริมาณของมดลงได้เป็นอย่างดี

1.2.2 การควบคุมโดยการทำลายรังที่อยู่อาศัยของมด

มดที่เราพบเห็นอยู่เสมอ คือมดงาน การควบคมทำลายมดงานที่เห็นไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตามจะได้ผลในระดับหนึ่งในแง่ของการลดปริมาณของมด แต่ถ้าได้สำรวจให้พบรังของมดและทำลายมดได้ทั้งรัฐจะได้ผลดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการที่จะพบรังหลักของมดเป็นเรื่องยาก สิ่งที่อาจทำได้คือการสำรวจและการพบรังย่อยของมดที่กระจายอยู่ภายในบ้านเรือนและดำเนินการกำจัดรังย่อยๆ เหล่านั้น ในการตามหารังของมดเราอาจสังเกตได้จากร่องรอยที่มดทิ้งไว้ซึ่งมักจะใช้ทางเดินซ้ำๆ ในการเข้ามาหาอาหาร บางครั้งเราอาจวางอาหารพวกน้ำตาลหรือโปรตีนเพื่อล่อให้มดเข้ามาซึ่งอาจจะต้องทำซ้ำๆ แล้วเราติดตามเพื่อค้นหารังของมดให้พบและทำลายรังเหล่านั้น

1.2.3 การควบคุมโตยการปรับสภาพแวดล้อมของสถานที่

วิธีนี้เป็นการปรับปรุงสถานที่ไม่ให้มีความเหมาะสม ที่มักจะเข้ามาสร้างรังย่อยภายในบ้านเรือน เช่น ถ้าพบรอยแตกหรือช่องทางเดินตามบ้านที่มิใช่เป็นทางเดินจากภายนอกเข้ามาในอาคารเพื่อหาอาหารและน้ำ ให้ทำการอุดหรือปิดช่องทางเดินเหล่านั้น วิธีนี้จะเป็นผลดีช่วยป้องกันไม่ให้มดกลับเข้ามาได้อีกหลังจากได้ควบคมมดนั้นแล้วด้วยวิธีต่างๆ ควรหมั่นสอดส่องดูแลภายในบ้านเรือนไม่ให้มีที่ที่เหมาะสมสำหรับมดใช้เป็นที่ทำรังย่อย เช่น ทำการซ่อมแซมรอยแตกของบ้านตามฝ้าเพดานหรือฝาผนัง ไม่ควรปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหวานไว้ใกล้บ้าน เนื่องจากน้ำหวานเป็นอาหารทางธรรมชาติของมดละเอียดบางชนิด ซึ่งเมื่อมดขึ้นมากินน้ำหวานบนต้นไม้ที่ปลูกอยู่ใกล้บ้าน ต้นไม้นั้นจะเป็นทางให้มดเข้ามารบกวนหรือเข้ามาสร้างรังย่อยในบ้านเรือนได้

1.2.4 การควบคุมโดยใช้วิธีผสมผสาน

     ได้แก่การใช้วิธีต่างๆ ร่วมกันตามความเหมาะสมแล้วแต่ชนิดของมดนั้น เพื่อให้ได้ผลดีในการควบคุม

โดยสรุปในการควบคุมมดนั้น เมื่อใดก็ตามที่พบมดเข้ามารบกวนภายในบ้านเรือน การฆ่ามดที่เห็น แม้จะเป็นจำนวนมากจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ กุญแจที่สำคัญในการควบคมมด คือการหารังมดให้พบ โดยจะต้องทราบชนิดของมดนั้นก่อน ในการตามหารังของมดอาจสังเกตได้จากร่องรอยของมดทิ้งไว้หมดจะใช้ทางเดินซ้ำๆ ในการเข้ามาหาอาหาร โดยเราอาจวางอาหารพวกน้ำตาลหรือโปรตีนเพื่อล่อให้มดเข้ามา แล้วติดตามเพื่อค้นหารังมดที่อยู่นอกบ้านบนพื้นดินหรือใต้พื้นดิน อาจสังเกตรังมดนอกบ้านใต้พื้นดินจากกองดินพูนขึ้นมาหรือมีขุยดินที่มีช่องทางที่มดเข้า - ออกอยู่บนดิน ส่วนมดที่สร้างรังภายในบ้านเรือนอาจสร้างรังอยู่ตามฝาบ้าน บางครั้งเมื่อพบรังมดอยู่ตามรอยแตกของบ้านหรือมดที่เข้ามาหาอาหารในบ้านจริงของมดนั้นอาจอยู่ไกลออกไปจากบริเวณนั้น

ในการใช้วัตถุอันตรายเพื่อกำจัดมดนั้น อาจใช้เพื่อป้องกันหรือตัดทางเดินไม่ให้มดเข้ามาในบ้าน โดยใช้อุปกรณ์กีดขวางกั้นบริเวณกรอบประตู - หน้าต่าง รอยแตกของบ้าน ทางเดินระหว่างกำแพงกับพื้นบ้าน วัตถุอันตรายที่ใช้อาจเป็นรูปผงหรือเม็ดเคลือบขนาดเล็กซึ่งจะได้ ผลดีเนื่องจากมดจะหันกลับไปที่รังและฆ่าสมาชิกที่อยู่ในรังได้ การใช้วัตถุอันตรายเป็นตัวกันมีผลดี คือสามารถป้องกันการเข้ามาขยายรังในบ้านเรือนของมดบางชนิดได้ ส่วนการใช้วัตถุอันตรายเพื่อกำจัดรังมดนั้น ถ้าไม่สามารถค้นหารังได้อาจโรยวัตถุอันตรายบริเวณที่คิดว่าใกล้รังมดมากที่สุด วัตถุอันตรายที่ใช้ควรเป็นชนิดผงเนื่องจากสามารถฟุ้งกระจายเข้าไปข้างในได้ดี มีฤทธิ์ตกค้างได้นาน และมดสามารถขนกลับไปที่รังได้

ส่วนการใช้เหยื่อพิษจะให้ผลดีถ้าเหยื่อนั้นสามารถดึงดูดให้มดเข้ามากินได้ การวางเหยื่อพิษควรวางบริเวณทางเดินซ้ำๆ ที่มดเคยเข้ามากินอาหาร ในบริเวณนั้นต้องไม่มีอาหารอย่างอื่นให้มดได้เลือกรวมทั้งน้ำและควรวางหลายๆ วันติดต่อกัน โดยไม่คิดหวังผลในวันเดียววัตถุอันตรายที่ใช้ผสมในเหยื่อพิษส่วนใหญ่ คือ กรดบอริกผสมกับอาหารต่างๆ

การดำเนินการควบคุมมด ถ้าจะให้ได้ผลดีควรใช้หลายๆ วิธีร่วมกันและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เลือกปรับใช้วิธีที่เหมาะสมกับบ้านเรือนของเราและคอยสังเกตพฤติกรรมของมดชนิดที่เราพบ อาจพบมดชนิดเดียวหรือพร้อมๆ กัน 2 - 3 ชนิดในบ้านเราได้ การควบคุมสามารถจะทาไปพร้อมๆ กั่น สงสำคัญที่สุดต้องไม่ลืมคือความสะอาด ดูแลเกี่ยวกับสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในบ้านให้ดี

1.2.5 การควบคุมโดยใช้สารเคมี

เป็นทางเลือกหนึ่งที่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ การใช้สารดังกล่าวต่อเมื่อประชากรมดนั้นมีจำนวนมาก จนถึงระดับที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเจ้าของบ้านที่ไม่สามารถยอมรับได้ การพิจารณาเลือกชนิดของวัตถุอันตรายต้องเลือกใช้ตามสถานการณ์และสถานที่ รวมทั้งดูว่าเป็นการใช้เพื่อควบคุมมดในบ้านหรือนอกบ้าน เพราะประเภทของวัตถุอันตรายที่ใช้จะต่างกันไปตามลักษณะของพิษตกค้าง การเลือกใช้วัตถุอันตรายมีหลักการดังนี้

  • ต้องมีประสิทธิภาพสูง ออกฤทธิ์เร็วต่อแหล่งที่ต้องการกำจัด โดยใช้ข้อมูลทางวิชาการประกอบการตัดสินใจ
  • เป็นพิษต่อต่อคนสัตว์อื่นๆ และแมลงที่มีประโยชน์ เช่น แมลงศัตรู ธรรมชาติโดยมีค่า LD50 สูง
  • ต้องมีความคงตัวและสามารถตระเตรียมได้ง่าย
  • ไม่ติดไฟง่ายและไม่มีกลิ่นเหม็น
  • ไม่มีคุณสมบัติกัดกร่อนและเปรอะเปื้อนหลังจากการใช้
  • รูปแบบของวัตถุอันตรายนั้นต้องเหมาะสมกับสถานที่ที่จะใช้ เช่น ใช้ในบ้านเรือนนอกบ้าน โดยจะพิจารณาจากการมีพิษตกค้างเป็นหลัก
  • ต้องใช้ตามความเข้มข้นที่เหมาะสมตามที่ฉลากแนะนำ
  • ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับรูปแบบของวัตถุอันตรายและใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี

1.3   การประเมินสถานการณ์ของมดหลังการควบคม

การประเมินสถานการณ์ของมด หลังจากที่ได้ดำเนินการควบคุมตามหลักการจัดการแบบผสมผสานแล้ว จะช่วยให้ทราบว่าวิธีต่างๆ ที่เลือกใช้นั้นมีความถูกต้องเพียงไร สามารถลดปริมาณของมดจนถึงระดับที่เราพอใจหรือจนถึงไม่พบมดเลยในบ้านได้หรือไม่ ถ้าสามารถทำได้หมายถึงความสำเร็จในการจัดการมดในบ้านเรือน แต่ถ้าได้ผลยังไม่เป็นที่พอใจ การประเมินสถานการณ์ของมดหลังจากการควบคุม จะช่วยให้เราปรับหาวิธีการจัดการมดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้ต่อไป

  1. ฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย

ฉลาก ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ1ศ. 2535 หมายถึง รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ซึ่งแสดงไว้ที่วัตถุอันตรายหรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อ หรือสอดแทรก หรือรวมไว้กับวัตถุอันตรายหรือภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อและหมายรวมถึงเอกสารหรือคู่มือประกอบการใช้วัตถุอันตราย ข้อความและรายละเอียดต่างๆ ซึ่งระบุไว้บนฉลากนี้ เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า ของผู้ผลิตวัตถุอันตรายที่เป็นไปตามหลักการของการประเมินตามข้อกำหนดของกฎหมาย ที่จะต้องแสดงไว้ที่ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อบรรจุหรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายอาจมีข้อความอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมไว้ได้ เพื่อเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายและผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ให้มีมั่นใจในความปลอดภัยของวัตถุอันตราย นอกจากนี้ฉลากยังเป็นตัวแทนของระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่ผู้ใช้กฎหมายได้กำหนด เพื่อให้ผู้บริโภคได้ศึกษาและปฏิบัติตามรายละเอียดบนฉลากก่อนใช้เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ผู้ผลิต ผู้นำเขาและผู้มีไว้ในครอบครองผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนและทางสาธารณสุขในประเทศ ที่ขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายและขออนุญาตสถานประกอบการ ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข จะต้องจัดทำฉลากที่มีรายละเอียดต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้และรายละเอียดต่างๆ ดังกล่าวนี้สอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล 

ข้อความและรายละเอียดต่างๆ บนฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย

ข้อความและรายละเอียดต่างๆ บนฉลากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายนั้น ได้แสดงถึงสาระสำคัญ 5 ประการ ดังนี้

  1. แสดงถึงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์

ได้แก่ ชื่อสารสำคัญและความเข้มข้นของสารสำคัญ อาจเป็นชื่อสามัญ หรือชื่อทางเคมีก็ได้ ที่มีหน่วยน้ำหนักเป็น น้ำหนัก / น้ำหนัก หรือ น้ำหนักปริมาตร หรือปริมาตร/ปริมาตร เป็นต้น

  1. แสดงถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์

ได้แก่ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่บ่งบอกให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้น มีวัตถุประสงค์ในการใช้อย่างไร เพื่อผู้ใช้จะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

  1. แสดงรายละเอียดของขั้นตอนการใช้ ปริมาณการใช้ คำแนะนำหรือคำเตือนและการกำจัดหรือการทำลายภาชนะบรรจุที่เหลือทิ้ง

เพื่อให้ผู้นำไปใช้ ได้มีความระมัดระวังในการใช้ตามคำเตือนที่ปรากฏบนฉลาก ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้ใช้

  1. แสดงรายละเอียดของการเก็บรักษาและการแก้พิษเบื้องต้น

วิธีการเก็บที่เหมาะสมตามคุณสมบัติของวัตถุอันตรายนั้นๆ นอกจากจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีประสิทธิภาพนานขึ้นแล้วยังช่วยทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย

ในกรณีที่อาการเกิดพิธีเกิดขึ้นจากการใช้วัตถุอันตราย สามารถแก้พิษเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงทีก่อนนำส่งแพทย์ ยังประโยชน์ต่อชีวิตของผู้ป่วย

  1. รายละเอียดอื่นๆ

5.1  เครื่องหมาย สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย เช่น

5.1.1  สัญลักษณ์ UN hazard symbol (ถ้ามี)

5.1.2  อันตรายทางกายภาพ เช่น สัญลักษณ์ กัดกร่อน ไวไฟ

5.1.3  อันตรายต่อสุขภาพ สัญลักษณ์ เครื่องหมายและข้อความแสดงระดับความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี)

5.2  ชื่อการค้า เป็นชื่อที่ผู้ผลิตกำหนดขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละสูตร เพื่อประโยชน์ทางด้านการค้า

5.3  เลขทะเบียนวัตถุอันตราย เป็นตัวเลขที่หน่วยงานกำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการพิจารณาทั้งด้านคุณภาพประสิทธิภาพมาแล้ว สำหรับผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้แสดงเลขทะเบียน เป็น อย.วอส ที่....../ปี พ.ศ. ที่ออกเลขทะเบียน เช่น วอส. 1/2547 เป็นต้น “อย” หมายถึง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา “วอส” หมายถึงวัตถุอันตราย “1” หมายถึงเลขที่ออกทะเบียนตำรับ และ “2547” หมายถึงปีที่ออกทะเบียนตำรับ

5.4  ชื่อและที่อยู่ผู้ผลิต เพื่อต้องการให้ผู้บริโภคทราบชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต เพื่อกรณีที่มีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้

5.5   ขนาดการบรรจุ ซึ่งแสดงด้วยระบบเมตริก ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่เป็นของแข็งจะแสดงเป็นหน่วยน้ำหนัก เช่น มิลลิกรัม เป็นต้น ของเหลวจะแสดงหน่วยปริมาตร เช่น มิลลิลิตร เป็นต้น